
ความหมายของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2562) ได้สรุปว่าการจัดการเรียนรู้
เชิงรุก (Active Learning) เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติหรือ การลงมือทำด้วยตนเอง ความรู้ที่เกิดขึ้นเป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว ครูต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการอ่าน การเขียน การโต้ตอบ และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการ คิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า Active Learning จึงเป็นกระบวนการ เรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย ในการนี้ ครูผู้สอนจึงต้องลดบทบาทในการสอนและการให้ข้อความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรง แต่ไปเพิ่มกระบวนการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนลง มือทำ เกิดความกระตือรือร้นในการท ากิจกรรมต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ โดยการพูด การเขียน การโต้ตอบ การอภิปรายกับเพื่อนๆ จัดกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนสามารถรักษาผลการเรียนรู้ให้อยู่คงทนได้มากและนานกว่า กระบวนการเรียนรู้อื่น ๆ เพราะ กระบวนการเรียนรู้ Active Learning จะสอดคล้องกับการท างานของสมองของผู้เรียนที่เกี่ยวข้องกับความจำ โดยสามารถเก็บและจำสิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ครูผู้สอน สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ และการเรียนรู้ที่ได้ปฏิบัติจริงด้วยตนเอง ไว้ในระบบความจำระยะยาว (Long Term Memory) ทำให้ผลการเรียนรู้ยังคงอยู่ได้ในปริมาณที่มากกว่า ระยะยาวนานกว่ากระบวนการเรียนรู้ที่ ผู้เรียนเป็นฝ่ายรับความรู้ (Passive Learning)
ลักษณะของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สถานศึกษาและครูผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ไดทั้งในหน่วยการเรียนรู้หรือแผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ และในกิจกรรม พัฒนาผู้เรียนหรือกิจกรรมเสริมทักษะของสถานศึกษา ซึ่งควรมีลักษณะดังนี้
1) เป็นการพัฒนาศักยภาพการคิด การแก้ปัญหา และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
2) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดระบบการเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้โดยมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ในรูปแบบของความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน
3) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด
4) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ สู่ทักษะการคิดวิเคราะห์ และประเมินค่า
5) ผู้เรียนได้เรียนรู้ความมีวินัยในการทางานร่วมกับผู้อื่น
6) ความรู้เกิดจากประสบการณ์ และการสรุปของผู้เรียน
7) ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง
8) จัดกิจกรรมที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
รูปแบบของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
นักวิชาการและนักการศึกษา ได้สรุปรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ดังนี้
หน่วยศึกษานิเทศก์ ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2562) ได้สรุปรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ดังนี้
1) การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning) เป็นการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมเพื่อน าไปสู่ความรู้ความเข้าใจเชิงนามธรรม เหมาะกับรายวิชาที่เน้นปฏิบัติหรือเน้นการฝึกทักษะ สามารถใช้จัดการเรียนการสอนได้ทั้งเป็นกลุ่ม และเป็นรายบุคคล หลักการสอนคือ ผู้สอนวางแผนจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จำเป็นต่อการเรียนรู้กระตุ้นให้ผู้เรียนสะท้อนความคิด อภิปราย สิ่งที่ได้รับจากสถานการณ์ ตัวอย่างเทคนิคการสอนที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ ได้แก่ เทคนิคการสาธิต และเทคนิคเน้นการฝึกปฏิบัติ
1.1) เทคนิคการสอนแบบการสาธิต ผู้สอนวางแผนการสอนและออกแบบกิจกรรม การเรียนรู้ โดยแบ่งสัดส่วนเวลาสำหรับการบรรยายเนื้อและการสาธิต พร้อมกับคัดเลือกวิธีการที่จะลงมือปฏิบัติให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยถ้าเป็นกิจกรรมกลุ่มจะต้องมีการวางโครงสร้างการท างานกลุ่ม การแบ่ง หน้าที่ และมีการสลับหมุนเวียนกันทุกครั้ง จากนั้นดำเนินการบรรยายเนื้อหาและสาธิต โดยขณะสาธิตจะ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถาม ผู้สอบแนะนำเทคนิคปลีกย่อย จากนั้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติและผู้สอนประเมินผู้เรียนโดยการสังเกตพร้อมกับให้คำแนะนำในจุดที่บกพร่องเป็นรายบุคคลหรือเป็นรายกลุ่มเมื่อ เสร็จสิ้นการปฏิบัติกิจกรรม ผู้สอน และผู้เรียนร่วมกันอภิปราย สรุปผลสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ
1.2) เทคนิคการสอนแบบเน้นฝึกปฏิบัติ ผู้สอนวางแผนและออกแบบกิจกรรมที่เน้นการ ฝึกทักษะ เช่น การฝึกทักษะทางภาษาโดยจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะช้าๆ อาจเป็น ในลักษณะใช้โปรแกรมช่วยสอน สำหรับการฝึกโดยผู้สอนมีบทบาทให้คำแนะนำอำนวยความสะดวกกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
2) การสอนแบบโครงงาน (Project Based Learning) โดยการสอนแบบโครงงานสามารถ จัดเป็นกิจกรรมกลุ่มหรือกิจกรรมเดี่ยวก็ได้ ให้พิจารณาจากความยาก – ง่าย และความเหมาะสมของโจทย์งาน และคุณลักษณะที่ต้องการพัฒนาวางแผนและกำหนดเกณฑ์อย่างกว้างๆ แล้วให้นักศึกษา วางแผนดำเนินการศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้วยตนเองโดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้ให้คำปรึกษา จากนั้นให้นักศึกษานำเสนอแนวคิดการออกแบบชิ้นงานพร้อมให้เหตุผลประกอบจากการค้นคว้า ให้ผู้สอนพิจารณาร่วมกับการอภิปรายในชั้นเรียนจากนั้นผู้เรียนลงมือปฏิบัติทำชิ้นงาน และส่งความคืบหน้า ตามกำหนด การประเมินผลจะประเมินตามสภาพจริง โดยมีเกณฑ์การประเมินกำหนดไว้ล่วงหน้าและ แจ้งให้ผู้เรียนทราบก่อนลงมือทำโครงการ และอาจมีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิร่วมประเมินผล
3) การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) เป็นการสอนที่ส่งเสริมให้ ผู้เรียนเกิดจากเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ด้วยการศึกษาปัญหาที่สมมุติขึ้นจากความจริงแล้วผู้สอน กับผู้เรียนร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาเสนอวิธีแก้ปัญหา หลักของการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานคือการเลือกปัญหาที่สอดคล้องกับเนื้อหาการสอนและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดคำถาม วิเคราะห์ วางแผนกำหนดวิธี แก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยผู้สอนมีบทบาทให้คำแนะนำแก่ผู้เรียนขณะลงมือแก้ปัญหา สุดท้ายเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการแก้ปัญหา ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปผลการแก้ปัญหา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงสิ่งที่ได้จากการลงมือแก้ปัญหา
4) การสอนที่เน้นทักษะกระบวนการคิด (Thinking Based Learning) เป็นกระบวนการสอน ที่ผู้สอนใช้เทคนิค วิธีการกระตุ้นให้ผู้เรียน คิดเป็นลำดับขั้นแล้วขยายความคิดต่อเนื่องจากความคิดเดิม พิจารณาแยกแยะอย่างรอบด้าน ด้วยให้เหตุผล และเชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่มี จนสามารถสร้างสิ่งใหม่ หรือตัดสินประเมินหาข้อสรุปแล้วนำไปแก้ปัญหาอย่างมีหลักการ
4.1) การคิดวิเคราะห์ หมายถึง การพิจารณาสิ่งต่างๆ ในส่วนย่อย ๆ ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ด้านความสัมพันธ์และด้านหลักการจัดการโครงสร้างของการสื่อความหมาย และสอดคล้องกับกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ คือ การคิดจำแนกเป็นหมวดหมู่ และจับประเด็นต่าง ๆ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ ดังนั้น การคิดเชิงวิเคราะห์เป็นทักษะที่สามารถพัฒนาให้เกิดกับผู้เรียน
4.2) การคิดสังเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการคิดที่ดึงองค์ประกอบต่าง ๆ มาหลอมรวมกันภายใต้โครงร่างใหม่อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากเดิม การคิดสังเคราะห์ครอบคลุมถึงการค้นคว้า รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะคิดซึ่งมีมากหรือกระจายกันอยู่มาหลอมรวมกัน
คนที่คิดสังเคราะห์ได้เร็วกว่าย่อมได้เปรียบกว่าคนที่สังเคราะห์ไม่ได้ ซึ่งจะทำให้เข้าใจ และเห็นภาพรวมของสิ่งนั้นได้มากกว่า การคิดสังเคราะห์แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
- การคิดสังเคราะห์เพื่อสร้างสิ่งใหม่ เช่น ประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ อุปกรณ์ต่าง ๆ
- การคิดสังเคราะห์เพื่อสร้างแนวคิดใหม่ เป็นการพัฒนาและคิดค้นแนวคิดใหม่ ถ้าเราสามารถคิดสังเคราะห์ได้ดี จะทำให้พัฒนาความคิดหรือสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
4.3) การคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความคิดใหม่ ๆ มีแนวทางใหม่ ๆ ทัศนคติใหม่ ๆ มีความเข้าใจและการมองปัญหาในรูปแบบใหม่ ผลลัพธ์ของความคิดสร้างสรรค์ที่ชัดเจน คือ การแสดงออกด้านดนตรี การแสดง ละคร วรรณกรรม สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมทางเทคนิค บางครั้งการคิด สร้างสรรค์ก็แสดงออกในรูปแบบอื่น ๆ เช่น การตั้งคำถามบางอย่างที่ช่วยขยายกรอบของแนวคิดที่ให้คำตอบบางอย่าง หรือการมองโลก หรือปัญหาในแนวนอกกรอบ ความคิดสร้างสรรค์ คือ ความคิดเชื่อมโยงที่พยายามหาทางออกหลาย ๆ ทาง เป็นการใช้ความคิดที่หลากหลาย แสวงหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ และนอกกรอบ คัดสรรหาทางเลือกใหม่และพยายามปรับปรุงให้ดี
ซึ่งมีวิธีการอยู่ 6 ขั้นตอน คือ
- แสวงหาข้อบกพร่อง (Mess Finding)
- รวบรวมข้อมูล (Data Finding)
- มองปัญหาทุกด้าน (Problem Finding)
- แสวงหาความคิดที่หลากหลาย (Idea Finding)
- หาคำตอบที่รอบด้าน (Solution Finding)
- หาข้อสรุปที่เหมาะสม (Acceptance Finding)
กระบวนการของความคิดสร้างสรรค์ อาจเกิดขึ้นโดยบังเอิญหรือโดยความตั้งใจ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการศึกษา การอบรม ฝึกฝน การระดมสมอง (brain-storming) มากกว่าครึ่งหนึ่งของการค้นพบ ที่ยิ่งใหญ่ของโลก เกิดจากการค้นพบโดยบังเอิญ (serenity) หรือการค้นพบสิ่งหนึ่ง ซึ่งใหม่ในขณะที่กำลัง ต้องการค้นพบสิ่งอื่นมากกว่า
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2562) ได้สรุปรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
ไว้ดังนี้
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สามารถสร้าง ให้เกิดขึ้นได้ทั้ง ในและนอกห้องเรียน รวมทั้งสามารถใช้ได้กับ ผู้เรียนทุกระดับ ทั้งในการเรียนรู้เป็นรายบุคคล การเรียนรู้แบบกลุ่มเล็ก และการเรียนรู้แบบกลุ่มใหญ่ รูปแบบการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้ดี มีดังนี้
- การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนดคนเดียว 2-3 นาที (Think) จากนั้นให้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนอีกคน 3-5 นาที (Pair) และนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share)
- การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยจัดกลุ่มๆ ละ 3-6 คน
- การเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน (Student-led review sessions) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้และพิจารณาข้อสงสัยต่าง ๆ ในการปฏิบัติกิจกรรม การเรียนรู้ โดยครูจะคอยช่วยเหลือกรณีที่มีปัญหา
- การเรียนรู้แบบใช้เกม (Games) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนนำเกมเข้ามาบูรณาการในการเรียนการสอน ซึ่งใช้ได้ทั้งในขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน การสอน การมอบหมายงาน และหรือขั้นการประเมินผล
- การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ (Analysis or reactions to videos) คือ การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ดูวีดีโอ 5-20 นาที แล้วให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น หรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู อาจโดยวิธีการพูดโต้ตอบกัน การเขียน หรือ การร่วมกันสรุปเป็นรายกลุ่ม
- การเรียนรู้แบบโต้วาที (Student debates) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียน ได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้ เพื่อยืนยันแนวคิดของตนเองหรือกลุ่ม
- การเรียนรู้แบบผู้เรียนสร้างแบบทดสอบ ( Student generated exam questions) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ให้ผู้เรียนสร้างแบบทดสอบจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว
- การเรียนรู้แบบกระบวนการวิจัย ( Mini-research proposals or project) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่อิงกระบวนการวิจัย โดยให้ผู้เรียนกำหนดหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้ วางแผนการเรียน เรียนรู้ตามแผน สรุปความรู้หรือสร้างผลงานและสะท้อนความคิดในสิ่งที่ได้เรียนรู้ หรืออาจเรียกว่า การสอนแบบโครงงาน (project-based learning) หรือ การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ( problem- based learning)
- การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze case studies) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ ผู้เรียนได้อ่านกรณีตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จากนั้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือ แนวทางแก้ปัญหาภายในกลุ่ม แล้วนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด
- การเรียนรู้แบบการเขียนบันทึก ( Keeping journals or logs) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้พบเห็น หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน รวมทั้งเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับบันทึกที่เขียนไว้
- การเรียนรู้แบบการเขียนจดหมายข่าว (Write and produce a newsletter) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนร่วมกันผลิตจดหมายข่าว อันประกอบด้วย บทความ ข้อมูลสารสนเทศ ข่าวสาร และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วแจกจ่ายไปยังบุคคลอื่น ๆ
- การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Concept mapping) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ ผู้เรียนออกแบบแผนผังความคิด เพื่อนำเสนอความคิดรวบยอด และความเชื่อมโยงกันของกรอบความคิด โดยการใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง อาจจัดทำเป็นรายบุคคลหรืองานกลุ่ม แล้วนำเสนอผลงานต่อผู้เรียนอื่น ๆ จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคนอื่นได้ซักถามและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
ทั้งนี้ วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับบริบทของผู้สอน ผู้เรียน และสถานการณ์ในการจัดการเรียนการสอน โดยยึดหลักการของการจัดกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียน มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ร่วมมือกันทำกิจกรรม มากกว่าการแข่งขัน ผู้เรียนได้เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบร่วมกันในการทำงาน และรู้จักแบ่งหน้าที่ร่วมกันในการทำงาน เช่น Peer Instruction (การเรียนร่วมกัน การเรียนรู้จากเพื่อน เพื่อนช่วยเพื่อน ) Class Debate (การอภิปรายในชั้นเรียน) Role-Playing (การแสดงบทบาทสมมติ) Case Studies (กรณีศึกษา ) Creative Scenarios and Simulations ( กรณีศึกษาสมมุติเพื่อใช้ในสถานการณ์จำลอง) Think-Pair-Share (การเรียนการสอนรูปแบบแบ่งปันความคิด) Peer Review (การทบทวน โดยผู้รู้เสมอกัน) Discussion Problem (การอภิปรายปัญหา) Game based Learning (การเรียนรู้ ผ่านเกม) เป็นต้น